วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติกันตรึม

   ประวัติกันตรึม

ประวัติความเป็นมาของกันตรึม

กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม เป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้ในปัจจุบัน จากการสืบสาวประวัติการเล่นกันตรึม ไม่สามารถได้รายละเอียดมากนัก การแสดงแบบนี้ได้สืบทอดมาจากขอม เดิมทีการละเล่นแบบนี้ ใช้สำหรับขับประกอบการแสดงบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี แต่ปัจจุบันกันตรึมใช้เป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงโดยทั่ว ๆ ไปเป็นการละเล่นที่มีมานาน

แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้ มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น

กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู

ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148) กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมืองจ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า 51)

เครื่องดนตรี วงดนตรีกันตรึมพื้นบ้านแบบเดิม มีเครื่องดนตรีครบชุด ประกอบด้วย กลองกันตรึม 2 ลูก ซอตรัวเอก 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ขลุ่ย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่

ผู้เล่นมีประมาณ 6 - 8 คน และมีนักร้องชาย - หญิง โดยทั่ว ๆ ไป มักนิยมให้มีชาย 2 คน หญิง 2 คน ถ้าเครื่องคนตรีไม่ครบตามที่กล่าวไว้ วงกันตรึมบางคณะก็อาจจะอนุโลมให้มีเครื่องดนตรีดังนี้ กลองกันตรึม 1 ลูก ซอกันตรึม 1 คัน ฉิ่ง 1 คู่ ซึ่งก็จะมีนักดนตรี เพียง 4 คน และอาจจะมีนักร้องฝ่ายชาย 1 คน และฝ่ายหญิง 1 คน ซึ่งถ้าฝีมือคนเล่นซอมีความสามารถ เป็นพิเศษ บรรเลงได้ไพเราะก็จะได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ถือว่าครบชุดเป็นวงดนตรีพื้นเมืองได้

โอกาสที่แสดงเพลงพื้นบ้านกันตรึม

เพลงพื้นบ้านกันตรึมนิยมเล่นในโอกาสทั่ว ๆ ไป ทั้งงานที่เป็นมงคล และงานอวมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบุญ งานบวชนาค งานบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ทำบุญฉลองกฐิน งานเฉลิมฉลองปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง และเทศกาลงานบุญต่าง ๆ งานขึ้นบ้านใหม่ ฉลองอาคาร สะพาน สระน้ำ และเล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นในพิธีบวงสรวง เข้าทรง เช่น โจลมม็วต หรือบองบ็อด

การแต่งกาย

การแต่งกายของนักดนตรี และนักร้องของวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึม มักนิยมแต่งกาย ตามสบาย หรือจะแต่งตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นก็ได

ประวัติความเป็นมาของกันตรึม

เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ตามประวัติแต่โบราณใช้สำหรับขับร้องประกอบการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีวิวัฒนาการของการเล่นคล้ายกับการเล่นเพลงปฏิพากย์ ในภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า "กลองกันตรึม" เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน เล่นได้ทุกโอกาสไม่กำหนดว่าเป็นงานมงคลหรืออวมงคล วงดนตรีประกอบด้วย กลอง ซอ ปี่อ้อ ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ ฉาบ กล่าวกันว่า ท่วงทำนองของเพลงกันตรึมมีกว่า ๑๐๐ ทำนอง บทเพลงจะเกี่ยวกับเรื่องเบ็ดเตล็ด ตั้งแต่เกี้ยวพาราสี โอ้โลม ชมธรรมชาติ แข่งขันปฏิภาณ สู่ขวัญ เล่าเรื่อง ฯลฯ การแต่งกาย แต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น เสื้อแขนกระบอก ผ้าสไบเฉียงห่มทับ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอวและพาดไหล่

๑. เพลงพื้นบ้านกันตรึม กันตรึม เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมมาก ในเขตอีสานใต้ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์ กันตรึมเป็ฯการละเล่นที่ใช้ภาษาในการขับร้องเป็นภาษาเขมร มีบทร้องทำนองสนุกสนาน ประวัติความเป็นมาของกันตรึม สงบ บุญคล้อย (๒๕๔๖ : ๑๖๒ ) กล่าวว่า กันตรึมหรือโจ๊ะกันตรึม เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้ เป็นการละเล่นที่มีดนตรีประกอบ และถือว่าดนตรีประกอบ และถือว่าดนตรีมีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ส่วนคำร้องเป็นของชาวเขมรสูงที่มีในสามจังหวัด คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ การเล่นกันตรึมได้รับความนิยมมากในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ จากการสืบประวัติการเล่นกันตรึมไม่ค่อยได้รายละเอียดมากนัก ทราบแต่เพียงว่าการเล่นแบบนี้ได้รับการถ่ายทอดมาแต่ขอม แต่เดิมการเล่นใช้สำหรับประกอบการบวงสรวง เวลามีการทรงเจ้าเข้าผี หรืองานพิธีกรรมก็ใช้ดนตรีกันตรึม บรรเลงกันเป็นพื้นบ้าน ซึ่งต่างกันในจังหวะลีลาจะแตกต่างกันไปตามพิธีแต่ละงาน กล่าวคือ งานแต่งงานก็บรรเลงอย่างหนึ่ง งานศพอย่างหนึ่ง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงก็ต้องให้เหมาะสมกับงาน แต่ถ้าเป็นงานศพก็มักจะใช้ปี่อ้อ (แป็ยออ) มาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานมักใช้ปี่เตรียงหรือ ปี่เญ็นแทนปี่อ้อ เป็นต้น



จุดมุ่งหมายของการเล่นกันตรึม สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๒ : ๙๐ ) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายการเล่นกันตรึม ว่า

๑. เล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ได้แก่ โจลมะม็วดบองบ็อด เป็นการทรงเจ้าเช้าผี

๒. เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเกี่ยวกับงานมงคลต่าง ๆ เช่น ทำบุญบ้าน บวชนาค โกนจุก บุญฉลองอัฐิ และบุญกฐิน

๓. เล่นเพื่อเฉลิมฉลองในงานประจำปี เช่น ปีใหม่ สงกราต์ ลอยกระทง และเทศกาลรื่นเริง ประจำปีอื่น ๆ

๔. เล่นเพื่อเป็นการรักษาศิลปะ ประเพณีการละเล่นพื้นบ้านมิให้สูญหาย

๕. เล่นเพื่อเป็นการส่งเสริมหารแสดงด้านดนตรี เพราะถือว่ากันตรึมเป็นดนตรีที่มีความสำคัญมาแต่โบราณและเป็นดนตรี ถือว่ามีความไพเราะเข้าถึงจิตใจ ของผู้ฟังมากกว่าดนตรีประเภทอื่น ๆ ในชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่ง ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะงานแต่งงาน ถือว่าจะขาดดนตรีกันตรึม เจ้า สาวบางคนถึงกับวางเงื่อนไขว่าหากไม่เอากันตรึมมากล่อมหอ จะไม่ยอมร่วมหอลงโรงด้วยและถึงกับมีการเลิกร้าง การแต่งงานกลางคันก็มี เพราะถือว่าไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้เจ้าสาวเสียขวัญและกำลังใจ หรืออาจจะมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งหมายถึง ซึ่งหมายถึงการหย่าร้างหรือพลัดพรากจากกันจะเห็นว่ากันตรึมก็มีรูปแบบการเล่น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรีของไทยภาคกลาง คือเมื่อก่อนจะเล่นต้องมีการไหว้ครู เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่ผู้เล่น หลังจากไหว้ครูเสร็จแล้วจึงเริ่มเล่น โดยนักแสดงจะต้องเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครูก่อน เช่นกันหลังจากนั้นจึงร้องบทต่าง ๆ ไป เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน และร้องโต้ตอบกันระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับการเล่นพื้นเมืองของภาคกลาง เช่น รำตัด หรือเพลงสักวา สำหรับภาษาที่ใช้ร้องส่วนมากจะใช้ภาษาไทยเขมร กลอนที่ร้องส่วนมากจะใช้การท่องจำกลอนร้องที่ ตกทอดกันมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น